#LDจจ.

กรรมกรแสง

ทำไมพี่ซันถึงเรียกบุคคลที่ทำงานทางด้านนี้ว่า

“กรรมกรแสง” ?

"บทสัมภาษณ์ จากคุณ ธนาฒย์ ปิติพรเทพิน (พี่ซัน LightSource)"

 ทำไมพี่ซันถึงเรียกบุคคลที่ทำงานทางด้านนี้ว่า “กรรมกรแสง”?

 ที่มาที่ไปไม่มีอะไรหรอก แค่แบบคิดคำ คิดคำเก๋ๆ เรียนแบบสรยุทธ์เท่านั้นเอง

 สรยุทธ์ใช้คำว่า "กรรมกรข่าว" แต่ที่จริงความหมายมันก็คืออย่างงี้ ในยุคก่อนเนี่ยไม่ใช่ยุคของ
พวกหนูนะ ยุคก่อนหน้านั้นน่ะ คนทำแสงเขาจะเรียกเฉพาะคนทำแสง คนทำเสียงที่เป็นซัพพรายเออร์ทั้งหลายแหล่ มันทำงานเหมือน "กรรมกร"
 "เออ...นั่งลงนั่งร้านต้องขนเองแบกเอง" คนที่เป็น Lighting Designer แบกนั่งร้านประกอบและติดตั้งไฟเอง คราวนี้เนี่ย ด้วยวิธีทำงานแบบนั้น
เวลาที่ Organizer หรือลูกค้าเขามอง เขาก็จะมอง
ดูภาพลักษณ์เราเป็นกรรมกร เป็นเหมือนผู้ใช้
แรงงาน แต่เดี๋ยวนี้มันดีขึ้นแล้ว

 ดังนั้น
ก็เลยเรียกแบบถ่อมๆตนไป ว่าฉันยังเป็นชนชั้นต่ำกว่าอาชีพ แท้จริงก็ชอบนะ ด้วยบทบาทลักษณะแบบนี้ 
เพราะว่ามันทำตั้งแต่ต่ำสุดยันสูงสุดรู้ทุกกระบวนการตั้งแต่เลือกของ ขนของ ติดตั้ง ไปจนถึงนั่งทำโปรแกรมและก็เล่นไฟ
ถ้าแม้ว่าในความหมายกรรมกรแสงจะดูเป็นชนชั้นพันอาชีพ แต่ด้วยทักษะและประสบการณ์ที่ได้ มันก็ได้เยอะ และก็มีคุณค่าของมัน

 พี่ซันมีความคิดเห็นอย่างไร กับ กรรมกรแสง ในยุคก่อนกับยุคปัจจุบัน ?

 
อ....(ถอนหายใจ ) แบบนี้คือสภาพแวดล้อม 
    สภาพแวดล้อมแต่ก่อนมันหมายถึงว่าวงการมันก็ไม่รู้มากเท่าทุกวันนี้ ลูกค้าไม่ได้ไม่รู้อะไรเยอะแยะเท่าทุกวันนี้ มันไม่มี Youtube มันไม่มี Google ไม่มี Video ให้ดู ลูกค้าก็ไม่เป็น และ Supplier อย่างเราก็ไม่เก่ง
 มันก็จะโตและเรียนรู้ไปด้วยกัน ข้อดีของมันก็คือลูกค้าก็ไม่ได้คาดหวังเยอะเพราะเขาก็ไม่รู้จะคาดหวังอะไร (หัวเราะ) เขาก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่เขาก็หวังว่าเราจะรู้ พนักงานยุคก่อนนี้ จึงเป็นพนักงานที่ไต่เต้าตั้งแต่ระดับธรรมดาที่สุด คือคนไม่เรียนมามันก็มาทำอาชีพนี้ได้ ขอให้มันมีท่าที มีบุคคลิกที่ขยันขันแข็ง
ลูกค้าพูดแล้ว Ok Say Yes!! แค่เขากระตือรือร้นขวนขวาย แค่นี้ลูกค้าก็
Happy แล้ว
 เขาอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เล่นไฟถูกผิดไม่ดีหรือเปล่า อันนั้นเป็นข้อได้เปรียบ แต่ถ้าเป็นยุคนี้เนี่ยมันไม่ได้แล้ว
 ลูกค้าเขามีประสบการณ์เยอะแล้วเขาได้ดู Youtube ได้ดู Google บินไปเมืองนอกดูงานดีๆ เพราะฉะนั้นเขามีมุมมองทางด้านงาน Design ดี เขารู้ว่าเห้ย!!.. อย่างนี้เขาสวย ,อย่างนี้เขาชอบ ,อย่างนี้แหละมันเจ๋งดี

 คนยุคนี้มันต้องตามให้ทันลูกค้า Designers ยุคนี้ ถ้าเทียบกับ Designers ยุคก่อน Designers ยุคก่อนเล่นไฟไม่เป็นยังไม่เข้าจังหวะ ลูกค้าเขาก็ยัง "Ok Ok" แต่ยุคนี้ไม่ได้แล้วยุคนี้แม่งต้องเจ๋งจริง

 คราวนี้เมื่อก่อน
เนี่ย คนทำงานทางด้านนี้ก็มักจะเป็นคนมีความรู้ และไม่มีความรู้ เรียนสูงเรียนต่ำก็ทำงานปนกันหมด และอดหลับอดนอนด้วยกันหมด
เงินดงเงินเดือนก็ไม่ได้ต่างกันซะเท่าไหร่ เพราะว่ามันมาด้วยใจรัก อยากทำเพราะได้ดู Concert ฟรี ,ได้ใกล้ชิดศิลปิน ,ได้เข้าผับได้เข้าเทค คือสนุก

 แต่พอมาเป็นยุคนี้แล้วเนี่ยเด็กมหาลัยเขาเรียนจากของจริง เขาได้เรียนวิชาการทางด้านนี้  เขาก็จะมีมุมมองทางศิลปะในการแสดงที่ชัดเจน
 เพียงแต่ว่าที่มันแย่ก็คือ ระบบการศึกษาบ้านเรามันยังไม่สามารถต่อจิ๊กซอว์ศิลปะการแสดงกับอาชีพที่เราทำอยู่เนี่ยเขาด้วยกันได้
มันก็จะพบว่า ถ้าความรู้เรื่องแสง มหาลัยไม่มีคนสอน คนสอนก็งูๆปลาๆจบมาเรียนคอร์สสองคอร์สเอามาทำงานก็ทำงานไม่ได้จริง

 เรื่องเสียงก็ไม่มีสอน แต่มีที่สอนมันก็เป็นเรื่องฉาก เครื่องแต่งกาย ก็จะเป็นทางด้านนั้นไป แต่ แม้แต่คนเรียนฉากมา มันก็เรียนมาเพื่อเป็น Designers มันไม่มีใครที่จะสอนแล้วเรียนเป็น Technician เป็นช่าง


 ช่างมีฝีมือที่จะมาทำฉากได้ หลักสูตรมันไม่เหมือนต่างประเทศ ที่เวลาเขาเรียนงานทางด้านเนี่ยคือมึงต้องทำได้ด้วย ไม่ใช่ทุกคนแห่เป็น Designers อย่างเดียว มันต้องมี คนที่มีฝีมือเป็นช่างฝีมือทำ แต่ต้องบอกว่าต่างประเทศเขาทำได้ เพราะระบบการจ่ายค่าแรงต่างๆเนี่ยมันเป็นธรรม มันเอื้อให้ต้องทำอย่างนั้น
  แต่ถ้าบ้านเราเนี่ยมันก็จะมอง เห้ย!!?? แต่ถ้าเป็น Designers รายได้สูงได้รับเงินเยอะ แต่ถ้าเมื่อไหร่มาเป็นช่างปุ๊ป พวกนี้จะถูกด้อยค่าด้อยค่าแรงมันก็ไม่มีคนอยากมาเป็นช่างฝีมือในเมืองไทย

 ช่างทำฉากเนี่ย ถึงแม้มหาลัยมีสอนเรื่องทำฉากนะ แต่เวลาใช้ช่างทำฉากจริงต้องไปจ้าง Supplier แล้ว Supplier เอาช่างพวกนี้มาจากไหน ก็พวกรับเหมาก่อสร้าง คนที่มีทักษะงานก่อสร้าง คราวนี้งานบันเทิงกับเวทีการแสดงและงานก่อสร้างบ้านมันมี Detail ที่ต่างกัน เราจะเห็นถ้าเกิดเราไปดูงานต่างประเทศ เราจะเห็นความแตกต่างเรื่องฉากของเขากับฉากของเราเด่นชัด


 จริงๆวงการเราที่มันไม่เจริญหรือเจริญช้ามาก ย้อนไป 30 กว่าปีถ้าพูดถึง งาน Creative งาน Production ไม่ได้มีอะไรต่างกับวันนี้เลย


 ที่มันเติบโตช้าไม่ค่อยมีพัฒนาการก็เพราะว่าเป็นที่ระบบการศึกษา เป็นที่ระบบการจ้างงาน สองอย่างนี้ที่มันไม่เอื้อไม่ลงตัวกัน อย่างครูโป้
ครูโป้ที่เคยคุยกับเขา ในประเทศแคนดา Designers กับ Operator รายได้ไม่หนีกันมาก บางที Operator อาจมีรายได้เยอะกว่าเสียอีก

 เขาอธิบายอย่างนี้ งานของ Designers เขาทำออกแบบ ชื่อมันบอกตรงตัวว่า ออกแบบ เขามีหน้าที่ไปคุยกับผู้กำกับ ไปคุยกับ Creative แล้วก็ตีความออกมาเป็นแบบไฟ เป็นซีนไฟในกระดาษ
 ส่วน Operator ก็มีหน้าที่ทำตามที่ Designers บอก และเล่นไฟตามนั้น แบ่งซีนตามนั้น ต่างประเทศ Designers ปิดจ๊อปตรงที่รอบแรกเล่นถือว่าหมดหน้าที่ของ Designers รับค่าแรงกลับบ้าน แต่ Operator ยังรับค่าแรงไปเรื่อยๆตราบเท่าที่ละครจะเล่นจบรอบสุดท้าย


 ความแตกต่างช่องว่างทางด้านรายได้มันไม่ค่อยต่างกัน แม้แต่ระดับ Technician หรือระดับติดตั้งก็เหมือนกัน บริษัทที่เป็น Supplier อย่างเดียวเลย รับติดตั้ง
รับแบบมาถึงหน้างานก็ตีราคาเลย ถ้าเป็นแบบนี้ใช้เวลากี่วันติดตั้งให้เสร็จภายในเวลาเท่านั้นเท่านี้

 ต่างประเทศ เนื่องจากต่างประเทศ ค่าแรกเขาคิดเป็นชั่วโมงเพราะฉะนั้นเนี่ย สมมุติว่าเขาตีราคามาแล้ว ว่างานเขาจะต้องติดตั้งเสร็จ แค่วันนี้ เกิดวันพรุ่งนี้ Designers มาขอแก้หน่อย แบบนี้ต้องจ่ายเพิ่ม แบบนี้คนทำงานไม่เหนื่อยฟรี แต่บ้านเราทำงานระดับกรรมกร พวกระดับใช้แรงแม่งเหนื่อยฟรี เหตุที่มันเหนื่อยฟรีก็เพราะ ว่าบางทีไม่ใช่ความผิดของเขา เป็นความผิดพลาดของพวก Creative พวก Designers "คิดไม่จบคิดไม่รอบครอบไม่รอบด้านแล้วก็มาแก้เอาหน้างาน"  
 
  ช่วง 1 ปี 2 ปีที่ผ่านมา คือ มันเป็นช่วงของการใช้ชีวิตแบบ New Normal  พี่ซันมีวิธีการปรับใช้ชีวิตแบบ NewNormal อย่างไงบ้าง?  

  ข้อที่ 1 เลย พี่ไม่คิดว่าเป็น New Normal พี่คิดว่ามันเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน เดี๋ยวพอมีปัญหา มีวิธีป้องกันอะไรได้ คนมันก็จะกลับมาใช้ชีวิตตามความเคยชินเดิมๆ แต่ลองคิดอีกทางนะ ด้วยความเคยชินแบบเดิม ใช้ชีวิตแบบเดิมๆมาตลอด  แล้วเราคิดว่า แค่ปี 2ปี หรืออาจะสามปี มันจะมีอิทธิพลทำให้เราเปลี่ยนความเคยชิน เปลี่ยนนิสัย ของเราได้หรอ
  ไม่มีทางที่มันจะเปลี่ยนได้เฉพาะบางคน  แสดงว่ามันต้องเจออะไรกระทบจิตใจความรู้สึกอย่างรุนแรง จนกระทั่งเปลี่ยนพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ

 ถ้าพูดถึงเรื่องโควิดที่เป็นอยู่ มันมีสภาพแวดล้อมที่คนหลายร้อยล้านคน ที่พี่เชื่อว่าเดี๋ยวเขาก็กลับมาใช้ชีวิตตามความเคยชินแบบเดิมอยู่
แล้ววันนั้น ถ้าเกิดเราจะเปลี่ยนคนเดียวเราก็เปลี่ยนไม่รอด ผลสุดท้ายเราก็กลับมาใช้ชีวิตแบบเดิม ตามสังคมต่อไป 
 ข้อที่ 2 พูดให้ใกล้ตัว เกี่ยวกับอาชีพงานที่เราทำ อย่างที่บอกว่า พี่ใช้คำว่าช่วงเปลี่ยนผ่าน หมายความว่า "มันเปลี่ยนแปลงแต่เดี๋ยวมันก็จะผ่านไป"
เพราะฉะนั้น ช่วงนี้คนที่จะอยู่รอดคือคนที่อึด อึดหมายความว่า รายได้ฉันลดน้อยลง ฉันยังมีทุนทรัพย์พอที่จะค้ำจุนชีวิตต่อไปได้ หรือ แม้ว่าจะไม่มีทุนทรัพย์ แต่ฉันพอจะหาลู่ทางอื่นที่จะมาจุนเจือจากรายได้อื่น คนสองประเภทนี้ มันถึงจะอยู่รอดในช่วงเปลี่ยนผ่าน ส่วนคนที่จะอยู่ไม่รอด คือ คนที่เคยชินแบบเดิมๆ เคยมีรายได้เท่านี้ เคยมี พฤติกรรมแบบนี้ แล้วก็ไม่คิดหาช่องทางใหม่ พอสถานการณ์เปลี่ยนแล้วไม่คิดจะหาช่องทางใหม่ มันก็จะต้องทนทุกข์ มันอาจจะต้องเจ็บปวด มันอาจจะต้องอดยาก 
แต่ผลสุดท้ายพี่เชื่อว่า "พอถูกกดดันถึงที่สุด ก็จะถูกบังคับไปโดยปริยาย"

 ข้อที่ 3 ถ้าเรามามองถึงวงการในช่วงโควิด เดิมที เมื่อปีที่แล้ว พี่มองว่าวงการนี้ มันมีความเป็น Creative เยอะ ยกตัวอย่าง เช่น สมมุติว่าพวก Organizer จะไปขายงานให้ลูกค้า บางทีมันต้องคิดงานแข่งกันนะ 3 - 4 บริษัท หรือบางที เป็น 10 บริษัท เพราะฉะนั้น เขาก็จะมีวิธีคิดงานสารพัด  Creative ที่จะมาเอาชนะกัน สำหรับตอนนั้นพี่มองว่าด้วย nature แบบนี้ เขาจะสามารถคิดหาทางออก สำหรับการจัดงานในสภาวะโควิดได้
 ตอนนี้พี่คิดว่า 6 เดือน มันต้องมีอะไรเปลี่ยนแปลง เดียวมันต้องหาวิธีจัดจนได้ แต่ดูเหมือนว่าไปๆมาๆพี่จะมองผิด เพราะจนป่านนี้ผ่านไปปีครึ่งแล้ว ยังเหมือนเดิม
พอคนมันเจอมาหลายๆรอบ

 อย่างที่ 2 อยู่ในสภาพภายใต้การปกครองของรัฐบาลแบบนี้ มันไม่มีกำลังใจจะลุกขึ้นสู้หรอก........ 
 พี่เข้าไปฟัง Clubhouse พี่เข้าไปดูใน Twitter มันก็จะมีแต่คนเฉพาะในแวดวงการเรา
 Organizer พวกจัด Event เขามาคุยกัน แต่คุยในเชิงว่าทำไมรัฐบาลถึงเป็นแบบนี้ ? ทำไมไม่ทำอย่างนี้?
 คนที่อยู่ต่างประเทศก็มาแชร์ประสบการณ์ ว่าเขาทำกันอย่างไร ?

 ทางออกคือ อย่ามามัวเสียเวลาตั้งคำถามกับรัฐบาล... แต่ควรจะต้องเป็นลักษณะว่า คนแต่ละอาชีพแต่ละวงการมันจะต้องรวมตัวกันเอง แล้วหาวิธีเอาตัวรอด
อย่างเช่น วงการ Event ซึ่งมันมีสมาคม Event เยอะแยะ แล้วเป็นสมาคมที่ครอบคลุมหมดทุกอาชีพแล้ว ตั้งแต่สมาคมจัดงาน BMA Organizer สมาคมเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ สมาคมเกี่ยวกับ Supplier ก็พวกนี้มานั่งปรึกษาหารือคุยกัน แล้ว Design Model จัดงานในสภาวะโควิด ขึ้นมาเป็นตุ๊กตาให้มันเป็นแบบอย่าง พี่ว่ามันถึงจะไปรอด
 แต่ตอนนี้ไม่เห็นสภาพอย่างนั้น ตอนนี้มีแต่คนตัดพ้อ เพราะว่ามันไม่ได้ประโยชน์เสียน้ำลาย สู้เอาเวลามานั่งคิดกันว่า ถ้าเราจะจัดงานซักงานหนึ่ง จะจัดด้วยวิธีไหนดี เมื่อปีที่แล้วค่อนข้างจะฮึกเหิมกว่าปีนี้ คือ ถ้าใครออก Idea แล้วมาร่วมทุนกัน คือไม่คิดค่าเช่า ค่าอะไรต่างๆ ปกติ มาร่วมทุนกันชวนใครเขาก็มีแต่คนเอาด้วย
 
ตอนนี้มันหมดกำลังใจ ทั้งทรัพยากรเงินในกระเป๋าหมด ทั้งพลังใจตก "เงินในกระเป๋าหมดไม่สำคัญเท่ากับปล่อยให้พลังใจหมด"

 สุดท้ายอยากให้พี่ซันฝากอะไรกับทุกคน กับหลายๆคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ หลายๆคนที่เจอปัญหา หรือว่าคนที่อยากจะทำอาชีพนี้ ?

 อาชีพนี้ เป็นอาชีพที่พิเศษกว่าอาชีพอื่นๆ เป็นอาชีพที่โคตรมีเสน่ห์ คือมันไม่มีอาชีพไหนแล้วที่คุณทำงานแบบ เจอของใหม่ตลอดเวลา เหมือนได้ดูหนังเรื่องใหม่ๆที่มีเนื้อเรื่องใหม่ๆ ทีมไม่ซ้ำเลยตลอดเวลา เปลี่ยนเข้ามาในชีวิต เพราะต้องเป็นอาชีพ Creative นำ
 พอใช้ Creative นำ เราก็เอา Supplier มาทำงานเกี่ยวกับ Technology  มันก็พยายามเอา Design Technology ไปซัพพอร์ตความคิดความฝันของพวก Creative เพราะฉะนั้น Technology ทางด้านนี้ จะว่าไปแล้วมันเติบโตเร็ว โรงงานผู้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ก็จะพยายามคิดผลิตอุปกรณ์ขึ้นมาเพื่อให้ตอบสนองกับพวก Creative เหล่านี้ ถ้าไม่นับสภาวะโควิดนะ

 คนที่เข้ามาในวงการนี้มันมีทางไป ที่ไม่มีทางอัพจน ยกตัวอย่าง เมื่อก่อน GRAMMY ประมาณ 20 - 30 ปี GRAMMY ก็มีลูกน้อง วันเดือนผ่านไปลูกน้องเขาก็ออกไปโต ทำอาชีพอื่น ใครเลยจะคิดว่า มันจะมีอาชีพที่เป็น Usher คนดูแลบัตรเข้าชม ดูแลความเรียบร้อยของงาน ซึ่งเมื่อก่อนไม่มีอาชีพนี้ แต่วันนี้มีอาชีพนี้เป็นบริษัทใหญ่โต จัดงานระดับชาติ มีUsher มีอาชีพทำฉาก จนถึงฟรีแลนซ์Backstage คอยดำเนินงาน การจัดการต่างๆ จนร่วมกลุ่มตั้งเป็นบริษัท เพื่อมารองรับกับงานทางด้านบรรเทิง
 เพราะฉะนั้น สำหรับงานด้าน Entertainment ก่อให้เกิดหลากหลายอาชีพ เป็นสิบๆอาชีพที่เข้ามา Support อยู่ที่ว่าใครจะตาดีและมีฝีมือที่จะจับช่องทางได้
ถ้าเข้ามาในวงการนี้ไม่มีทางอัพจน ถ้าเกิดคุณเอาจริง

 คราวนี้ มาพูดถึงสภาวะโควิด อย่างที่บอกรายได้เดิมแล้วเราอยู่ในสภาวะที่ภาครัฐเป็นแบบนี้ อย่าไปมัวหวังพึ่งพา หวังจะให้ผีเทวดามาช่วยมันคงไม่รอดหรอก
เราคงจะตายไปซะก่อน เพราะฉะนั้นเราต้องพยายามคิดว่ามีช่องทางอะไร ที่แม้รายได้เดิมมันตกลงไป เราก็ยังมีช่องทางใหม่มาจุนเจือให้เราอยู่ได้
หลายคนเขาก็ทำได้นะ แต่หลายคนเขาก็ยังนึกไม่ออกว่าจะทำอย่างไร เห้อ....... ( ถอนหายใจ )   

  มันต้องมานั่งคุยกัน บางทีการที่เรานั่งคุยในห้องกลุ่มเดิมๆก็คิดไม่ออก ต้องไปคุยกับกลุ่มอื่น บางทีการคุยกับกลุ่มอื่นหรือบางที่ไม่ได้การคุยกับเขาแต่ไปนั่งฟังเขาพูด หรือไปอ่านอะไรซักอย่าง เกิดมีอะไรที่ทำให้เราคลิกได้ มันก็ได้กำไรแล้วทำให้เราไปต่อได้
 มีคนเขาเคยพูดว่า เขาเป็นคนชอบซื้อหนังสือ บางทีหนังสือหนา 400 - 500 หน้า ราคาแพงๆเขาซื้อมาไม่เสียดาย เขาเปิดอ่านเนื้อหาในหนังสือไม่สามารถช่วยอะไรแต่ถ้าเกิดว่าเขาอ่านเจอแง่มุมดีๆซักสามสี่บรรทัด ช่วยให้เขาคลิกได้มันก็คุ้มนะ
 เพราะฉะนั้นวันนี้ สำหรับคนที่อยู่ในสภาวะโควิดคิดว่า "เห้ยกูจะแย่ว่ะ!! อย่ามัวพร่ำบ่นกับตัวเองว่าแย่ แต่ให้เรามองไปว่าเราจะหาช่องทางอะไร"

 ในข้อที่ 1 จำได้ไหม 2 ข้อ ? 
ข้อที่ 1 เห้ยมันดี :))  ทุนเพียงพอที่จะ Support แต่ถ้าไม่มีทุนพอ ก็จะต้องดิ้นรนหาช่องทางรายได้อื่น
 พี่จัดอยู่ในข้อที่ 1 มีทุนสำรองพอที่จะ Support ในสองสามปีนี้ แต่ถ้าพ้นสองสามปีไปแล้ว พี่ยังหาช่องทางไม่ได้พี่ก็ยังอดตาย
พี่ต้องมานั่งคิด ปีนี้ทั้งปี  "Ok กูไม่มีรายได้แต่อยู่ได้ว่ะ"  ก็ปล่อยชีวิตแบบ Slow Life  แล้วก็คิดอะไรไปตามที่มันผ่านเข้ามา ก็ไม่ได้วิตก ว่าสองสามปีหลัง
จะต้องวางแผนตัวเองว่าอย่างไร เพราะพี่เชื่อว่า
"ถ้าเรามีสุขภาพจิตที่ดี ไม่เครียด ร่าเริง เบิกบาน สบายใจ เวลาที่โอกาสผ่านมา เราจะดูออก แล้วเราจะรู้วิธีคว้าไว้ "

 วันนี้ พวกเรากับน้องๆก็เหมือนกัน  พี่เชื่อว่า ถ้าเกิดเราทำใจให้สบาย มองอะไรที่มันไม่เครียด แล้วดูสิ่งที่มันผ่านเข้ามาในชีวิต ในแต่ละวัน มองให้ดี
อันไหนโอกาส บางคนที่คว้าไม่ทันก็ไหลผ่านให้คนอื่นต่อ........ :))) 
Nutcha Chantarasethon (ผู้สัมภาษณ์)
สร้างด้วย